2025.01.17

#Website

ศักยภาพและอนาคตของบริษัทที่ไม่มีเว็บไซต์

ข้อดีของการมีเว็บไซต์

เราอยากจะแนะนำข้อดีของเว็บไซต์บางอย่าง เพื่อให้มีมองภาพออกว่าการมีเว็บไซต์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง ซึ่งจริงๆมีมากกว่านี้แต่จะขอยกตัวอย่างเพียง 5 ข้อ ดังนี้

เพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น

การมีเว็บไซต์ทำให้รู้สึกสบายใจได้ ทำให้ผู้คนมองเห็นว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริต เว็บไซต์ถือเป็นหน้าตาของบริษัทและมีบทบาทสำคัญในการสร้างความประทับใจครั้งแรก การออกแบบที่เป็นมืออาชีพ ใช้งานง่าย รวมถึงข้อมูลที่แม่นยำและเข้าใจง่าย จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ เช่น การมีเนื้อหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการมากพอที่จะทำให้ลูกค้าใหม่รู้สึกอุ่นใจเมื่อจะเริ่มทำธุรกรรม นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความอุ่นใจได้อีกขั้นโดยการแชร์ความเห็นจากลูกค้าหรือผลงานที่ผ่านมาให้ผู้ใช้เว็บไซต์ได้อ่าน

ช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า

การมีเว็บไซต์สามารถประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับธุรกิจหรือบริการให้กับคนจำนวนมากที่จะมีโอกาสเป็นลูกค้าใหม่ได้ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีการนำมาตรการ SEO มาใช้ (มาตรการที่ทำให้เว็บไซต์แสดงอยู่ที่อันดับบนสุดของผลการค้นหาในเครื่องมือค้นหา เช่น Google) จะสามารถดึงดูดผู้เข้าชมจากเครื่องมือค้นหาได้ เช่น การอยู่ในอันดับสูงกว่าคู่แข่งจะช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้มากขึ้น สามารถเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรงด้วยการใช้โซเชียลมีเดียและบล็อกเผยแพร่ข้อมูล ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้คาดว่าจะส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตทางธุรกิจและยอดขายที่เพิ่มขึ้น

ช่วยลดต้นทุน

การมีเว็บไซต์สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายอย่าง ในการสร้างและดำเนินการเว็บไซต์นั้นมีค่าใช้จ่าย แต่เราคิดว่าน่าจะลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่านั้น เช่น อาจไม่จำเป็นต้องทำแผ่นพับหรือใบปลิวแจก หน้าคำถามที่พบบ่อยก็สามารถลดต้นทุนการช่วยเหลือลูกค้าได้ อาจเรียกว่า DX ก็ได้ สิ่งนี้จะช่วยประหยัดทรัพยากรที่มีจำกัดและช่วยให้โฟกัสกับสิ่งสำคัญเท่านั้น

ช่วยให้สื่อสารกับลูกค้าง่ายขึ้น

การมีเว็บไซต์จะช่วยสร้างความพึงพอใจและความไว้วางใจจากลูกค้าได้มากขึ้น
เช่น การโพสต์แบบฟอร์มสอบถามและข้อมูลสำหรับติดต่อ จะช่วยให้ตอบคำถามของลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลือได้ทันที นอกจากนี้ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แน่นแฟ้นได้โดยการประชาสัมพันธ์แคมเปญล่าสุดผ่านบล็อกหรือจดหมายข่าวอยู่เสมอ ความคิดเห็นของลูกค้าเป็นแหล่งข้อมูลอันมีค่าในการปรับปรุงบริการ เว็บไซต์จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้การสื่อสาร 2 ทางกับลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น

เพิ่มการสมัครงาน/ลดความไม่ตรงกันของตำแหน่งงาน

การมีเว็บไซต์ช่วยคลายความกังวลของผู้สมัครงาน ช่วยถ่ายทอดความน่าดึงดูดใจของบริษัทและความสะดวกในการทำงานให้กับผู้คนได้มากขึ้น อีกทั้งการลดความไม่ตรงกันจะช่วยป้องกันไม่ให้พนักงานใหม่ต้องเผชิญกับภาระงานที่เพิ่มขึ้นมากและความไม่พอใจที่อาจเกิดขึ้นหลังจากร่วมงานกับบริษัท เช่น สามารถหาบุคลากรที่มีความสามารถได้โดยการสื่อสารปรัชญาของบริษัท วัฒนธรรมองค์กร และผลประโยชน์ของพนักงาน และเน้นย้ำเส้นทางอาชีพที่มีแนวโน้มดี บริษัทหลายแห่งกังวลเรื่องการชำระเงินให้กับสื่อรับสมัครงานและบริการแนะนำบุคลากร เว็บไซต์จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งเหล่านั้น หรือก็คือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง

กรณีศึกษาของเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จ

เพื่อให้นึกภาพได้เป็นรูปธรรมมากขึ้นว่าการมีเว็บไซต์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง เราจึงขอแบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จบางส่วน โดยที่ไม่มีการเปิดเผยชื่อบริษัท

ติดอันดับสูงในเครื่องมือค้นหาและดึงดูดลูกค้าใหม่

บริษัทก่อสร้างขนาดเล็กถึงขนาดกลางได้สร้างและเปิดตัวเว็บไซต์แรก เริ่มทำการตลาดแบบเน้นชุมชน เราได้เผยแพร่ผลงานและโครงการที่เคยได้ดำเนินการ เน้นในด้าน SEO และการแสดงคีย์เวิร์ดที่มีความเฉพาะเจาะจงไว้ที่ด้านบน ทำให้มีลูกค้าใหม่ๆเป็นจำนวนมาก มาตรการนี้ทำให้ได้รับโอกาสมากมายที่จะมีส่วนร่วมในโครงการในท้องถิ่น

มีการสั่งซื้อจากต่างประเทศด้วยการเปิดตัวเว็บไซต์เวอร์ชันภาษาอังกฤษ

บริษัทการผลิตขนาดเล็กถึงขนาดกลางประสบความสำเร็จอย่างมากในการดึงดูดลูกค้าใหม่ๆทั้งจากในประเทศและต่างประเทศโดยการทำและเปิดตัวเว็บไซต์ครั้งแรก เราได้แนะนำแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของบริษัท นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้ว ยังสร้างเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ ผลลัพธ์คือมียอดสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นและสามารถเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้อย่างมาก การเปิดตัวเว็บไซต์ทำให้สามารถสื่อสารกับลูกค้าต่างประเทศรายใหม่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ก่อนหน้านี้ได้โดยตรง ทำให้การขยายธุรกิจระดับโลกเกิดขึ้นได้จริง นอกจากนี้ยังช่วยสร้างโอกาสการจ้างงานใหม่ๆให้กับพื้นที่เนื่องจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้ฟื้นตัว

สตาร์ทอัพที่มีรากฐานมั่นคงในอุตสาหกรรม

สตาร์ทอัพในอุตสาหกรรมบริการเปิดตัวเว็บไซต์พร้อมกับเปิดตัวธุรกิจใหม่ ได้ถูกนำเสนอเป็นข่าวในสื่อต่างๆ และมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก ความพึงพอใจของลูกค้าดีขึ้นจากการสร้างระบบการจองและส่งจดหมายข่าวทางอีเมล์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เรายังเสริมความน่าสนใจของบริการดังกล่าวบนบล็อกและโซเชียลมีเดีย ซึ่งช่วยกระจายข่าวแบบปากต่อปาก ทำให้สามารถสร้างจุดยืนที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมและการเติบโตแบบยั่งยืนได้

รายได้จากการท่องเที่ยวของรัฐบาลท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก

เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลท้องถิ่นจัดทำและเผยแพร่เว็บไซต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวแยกจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เราแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นด้วยภาพถ่ายและวิดีโอที่สวยงาม เรายังเน้นการรองรับหลายภาษาและการบูรณาการโซเชียลมีเดียเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั้งประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ นอกจากนี้ เว็บไซต์ยังอำนวยความสะดวกในการจองทัวร์และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การใช้บริการที่พักและร้านอาหารเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ช่วยดึงดูดผู้มีความสามารถที่ดีเยี่ยมและการจ้างงานผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีโรงงานในพื้นที่ของภูมิภาคโทโฮคุได้สร้างและเปิดตัวเว็บไซต์รับสมัครงานเป็นครั้งแรก เราได้สื่อความเป็นอยู่จริงของบริษัท การทำงานและพนักงาน ใช้ตัวเลขและกราฟเพื่อเน้นย้ำถึงจุด USP (Unique Selling Proposition) ของบริษัท กล่าวคือนำเสนอข้อดีของบริษัทและเส้นทางอาชีพในอนาคต นอกจากนี้ยังถ่ายทอดบรรยากาศภายในบริษัท การทำงานเป็นทีม และความสะดวกในการทำงานผ่านเนื้อหาที่รวบรวมเป็นเรื่องราวของโครงการ ทำให้ประสบความสำเร็จในการดึงดูดคนเก่งๆมากมาย นำไปสู่การสรรหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอีกด้วย ปัจจุบันนี้ไม่จำเป็นต้องลงโฆษณารับสมัครผ่านสื่อเพราะมีการสมัครอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถวางแผนและดำเนินการตามแผนสรรหาบุคลากรในระยะยาวได้

ขั้นตอนในการออกแบบเว็บไซต์ที่ควรทราบ

หากเลือกบริษัทออกแบบเว็บไซต์ที่ดีได้ ก็จะสามารถเริ่มต้นจากศูนย์ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่ทำแบบนั้นได้

เราจะอธิบายขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์หลังจากได้อธิบายเรื่องหลักๆที่ควรทราบไปแล้ว เพื่อค้นหาบริษัทผลิตเว็บไซต์ที่มีความสามารถ มุ่งมั่นในผลลัพธ์ คิดค่าบริการสมเหตุสมผล สุภาพ ทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่ายและอยู่เคียงข้างลูกค้า

การวางแผน

ตัดสินใจในเรื่องของจุดประสงค์และเป้าหมายของการทำเว็บไซต์ ลองคิดดูว่าต้องการสร้างเว็บไซต์เพื่ออะไรและคาดหวังผลลัพธ์แบบไหน เช่น ต้องการลูกค้าใหม่หรือต้องการจ้างงาน นอกจากนี้ให้ลองคิดด้วยว่าจะให้ใครและคนแบบไหนดูเว็บไซต์ของเรา

เมื่อคำนึงถึงจุดประสงค์และเป้าหมายแล้ว ก็ควรตัดสินใจแล้วพูดคุยกับบริษัทออกแบบเว็บไซต์ บริษัทที่สามารถอยู่รอดในอุตสาหกรรมหรือกลายเป็นบริษัทชั้นนำก็จะมีองค์ความรู้มากมาย บริษัทพวกนี้ก็จะมีความรู้มากกว่าบริษัทออกแบบเว็บไซต์

แต่บริษัทออกแบบเว็บไซต์หรือผู้รับผิดชอบบางคนมีทักษะในการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ เป็นความคิดที่ดีที่จะลองค้นหาความเป็นไปได้ร่วมกัน

เมื่อมีแผนแล้ว ควรเลือกบริษัทออกแบบเว็บไซต์ที่สามารถชี้แจงขั้นตอนที่เหลือให้ โดยที่เราไม่ต้องชี้แจงเองและทำหน้าที่แค่ตรวจสอบตามกระบวนการ

การออกแบบ

เลือกโดเมนและเซิร์ฟเวอร์

โดยเฉพาะหากเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล จะต้อเลือกว่าจะใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยระดับไหน

คำนึงถึงเรื่องความสะดวกในการเข้าถึง (Accessibility) ความสามารถในการใช้งาน (Usability) และการตอบสนอง (การจัดเค้าโครงและปรับการแสดงผลอัตโนมัติตามขนาดหน้าจอและความละเอียดบนมือถือ แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์) รวมถึงเมนูการนำทาง เป็นต้น

และการสร้างแผนผังเว็บไซต์ที่แสดงลำดับชั้นไดเร็กทอรี จากนั้นจะสร้าง Wireframe (แสดงภาพของเค้าโครงและการวางเนื้อหาซึ่งเป็นรากฐานของการออกแบบ) สิ่งที่สำคัญจะถูกวางในตำแหน่งที่สะดุดตาเพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ง่าย

เนื้อหา

การใช้มาตรการ SEO (มาตรการที่ช่วยให้เว็บไซต์แสดงที่ด้านบนของผลการค้นหาในเครื่องมือค้นหา เช่น Google) โดยเลือกคำหลักอย่างมีกลยุทธ์ ใช้ชื่อและหัวข้อเพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้า

อีกทั้งยังสร้างเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับแต่ละหน้า โดยใช้ข้อความ ภาพประกอบ แผนภาพ ภาพถ่าย วิดีโอและอื่นๆ การที่หน้าเว็บไซต์มีองค์ประกอบครบถ้วนหรือทำให้ผลิตภัณฑ์ของแตกต่างจากคู่แข่ง ช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้เข้ามาที่เว็บไซต์ได้

การออกแบบ

การตัดสินใจเลือกรูปแบบสีที่ใช้ทั้งสีหลักและสีรอง โดยใช้สีที่ตรงกับภาพลักษณ์และโลโก้ของบริษัท การใช้สีที่ตรงกับภาพลักษณ์และโลโก้บริการ รวมถึงการเลือกแบบอักษร อีกทั้งชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ปุ่ม ต้องมองเห็นได้ชัดเจน และคำนึงด้านการใช้งานและความสม่ำเสมอด้วย

UI/UX มักจะถูกถึงอยู่บ่อยๆว่ามีความสำคัญ ซึ่งมีความหมายว่า

UI : จุดที่เชื่อมผลิตภัณฑ์และบริการกับผู้ใช้ด้วยกลยุทธ์ของอินเตอร์เฟซผู้ใช้งาน
UX : ประสบการณ์ที่ผู้ใช้ได้รับเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยกลยุทธ์ของประสบการณ์ผู้ใช้

การออกแบบเป็นเรื่องของเทคนิคไม่ใช่เซนส์ ต้องหารือกันอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้การออกแบบตามที่ต้องการ

การโค้ดและขั้นตอนอื่นๆเพื่อการใช้งาน

การเขียนโค้ดต้นฉบับ เช่น HTML, CSS และ JavaScript จะสร้างภาพขึ้นมาเพื่อให้สามารถดูเว็บไซต์บนเบราว์เซอร์ได้ และเพิ่มแอนิเมชันหรือฟีเจอร์แบบโต้ตอบต่างๆลงไป

หากกำหนดแนวปฏิบัติในการเขียนโค้ดหลังจากกำหนดสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการและเบราว์เซอร์แล้ว ก็สามารถรักษาคุณภาพเท่าเดิมได้ แม้จะเปลี่ยนโค้ดเดอร์หรือวิศวกรเขียนฟรอนต์เอนด์ก็ตาม

ยังมีตัวบ่งชี้ Core Web Vitals ของ Google

LCP : เวลาตั้งแต่ที่ผู้ใช้เข้ามาในเว็บไซต์และโหลดเนื้อหาครั้งแรกไปจนถึงแสดงเนื้อหา
CLS : ระดับที่เค้าโครงของหน้าเปลี่ยนแปลงในขณะที่โหลดเนื้อหา
INP : เวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนเป็นหน้าจอถัดไปหลังจากผู้ใช้กระทำการบางอย่าง

ซึ่งส่งผลกระทบต่อมาตรการ SEO ที่มุ่งให้มีคะแนนสูง

หากนำไปใช้กับ CMS (ระบบจัดการเนื้อหา) เช่น WordPress หรือ Movable Type และกำหนดค่าเซิร์ฟเวอร์ จะสามารถจัดการดำเนินงานภายในองค์กรได้โดยไม่ต้องทำผ่านบริษัทออกแบบเว็บไซต์ ก็เหมือนกับการอัพเดตบล็อกนั่นเอง

การทดสอบ

เมื่อเว็บไซต์เสร็จสมบูรณ์แล้ว จะมีการทดสอบภายในเพื่อตรวจสอบว่ามีจุดบกพร่องหรือไม่ ซึ่งจะตรวจสอบทุกรายละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้ใช้ เช่น ลิงก์เสียหรือการแสดงหน้าจอผิดพลาด

หากเป็นเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่ก็จะทดสอบได้ยาก แต่ก็มีเครื่องมือที่ตรวจสอบโดยอัตโนมัติได้ จึงควรเลือกใช้ตามสมควร

การนำเครื่องมือที่จำเป็นมาใช้กับการตลาดดิจิทัล

เราอยากจะแนะนำเครื่องมือฟรีที่ควรใช้ก่อนที่จะทำการเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่

มี 5 อย่าง คือ Google Tag Manager (GTM), Google Analytics 4, Google Search Console, Looker Studio และ Microsoft Clarity ซึ่งช่วยวิเคราะห์การเข้าถึงและประสิทธิภาพของเว็บไซต์ได้

เพียงตั้งค่าเอาไว้ก่อน กล่าวคือ มีการรวบรวมข้อมูล ก็ค่อยๆเรียนรู้วิธีการใช้งานหรือขอให้บริษัทออกแบบเว็บไซต์ช่วยวิเคราะห์ให้ได้

การเปิดตัวเว็บไซต์

การเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการปรับปรุงเว็บเว็บไซต์ เมื่อตรวจสอบจากอันที่ใช้สำหรับการทดสอบแล้ว ก็จะเป็นเพียงการลบไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งค่าไว้เพื่อไม่ให้เข้าถึงได้ก่อนการเปิดใช้งานเว็บไซต์

สรุป

ในบทความนี้ เราได้อธิบายถึงประโยชน์ของการมีเว็บไซต์และกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงอธิบายกระบวนการในการออกแบบเว็บไซต์ที่ควรรู้อย่างคร่าวๆให้กับผู้รับผิดชอบขององค์กรที่ไม่มีเว็บไซต์ไปแล้ว

สิ่งที่เราอยากจะสื่อมากที่สุดคือ บริษัทที่ไม่มีเว็บไซต์ก็มีศักยภาพสูงที่ซ่อนอยู่ และการไม่มีเว็บไซต์ก็เป็นโอกาสในการเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ต้น

เราหวังว่าคุณจะใช้เว็บไซต์ในโอกาสนี้เพื่อพัฒนาต่อไปอีกขั้นได้