CMS คืออะไร
CMS (Content Management System) คือ ระบบสำหรับจัดการและเผยแพร่เนื้อหาเว็บไซต์ (ข้อความ รูปภาพ วิดีโอและอื่นๆ) การใช้ระบบนี้ช่วยให้สามารถอัปเดตและจัดการเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย แม้จะไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมเลย
ฟังก์ชันหลักๆของ CMS ได้แก่ การสร้างและแก้ไขเนื้อหา การจัดหมวดหมู่ การดูตัวอย่างก่อนเผยแพร่ และการตั้งค่ากำหนดการเผยแพร่เนื้อหา อีกทั้ง CMS ส่วนมาก นอกจากจะสามารถเปลี่ยนการออกแบบเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดายโดยใช้เทมเพลต และยังสามารถเพิ่มฟังก์ชันต่างๆให้กับเว็บไซต์ได้โดยการเพิ่มปลั๊กอินและโมดูล เช่น การสร้างแบบฟอร์ม การใช้มาตรการ SEO และการควบรวมกับโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
เนื่องจากใช้งานง่าย จึงมีการใช้บนเว็บไซต์ต่างๆตั้งแต่บล็อกส่วนตัวไปจนถึงเว็บไซต์องค์กรของบริษัทขนาดใหญ่ เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ และ Web Portal ตัวอย่าง CMS เช่น WordPress, Wix, Joomla! และ Drupal แต่ละอันจะมีลักษณะเฉพาะและถูกเลือกตามวัตถุประสงค์และความชอบ
ประโยชน์ของการใช้ CMS มีดังนี้
• ความสะดวกในการอัปเดตเนื้อหา
สามารถเพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้ง่าย ช่วยเผยแพร่ข้อมูลล่าสุดในเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว
• ความสอดคล้องของการออกแบบ
การใช้เทมเพลตช่วยรักษาความสอดคล้องของการออกแบบของเว็บไซต์โดยรวมได้ง่ายขึ้น
• การบริหารจัดการโดยคนหลายคน
ฟังก์ชันที่ช่วยจัดการบัญชีผู้ใช้งานจะช่วยให้พนักงานหลายคนสามารถจัดการเว็บไซต์ตามหน้าที่ของตัวเองได้
• การขยายฟังก์ชัน
ปลั๊กอินและโมดูลช่วยให้สามารถเพิ่มคุณสมบัติต่างๆกับเว็บไซต์ได้ตามความจำเป็น
CMS ที่ใช้กันมากที่สุดคือ WordPress
จากข้อมูลในปี 2023 พบว่าเว็บไซต์ทั่วโลกกว่า 40% และเว็บไซต์ที่ใช้ CMS กว่า 60% นั้นใช้ WordPress
ส่วนแบ่งตลาดของ WordPress ในญี่ปุ่นสูงกว่านี้ โดยเกิน 80% ของส่วนแบ่งตลาด CMS ซึ่งแสดงให้เห็นว่า WordPress มีส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่มาก
เหตุผลที่ WordPress ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุดในการสร้างเว็บไซต์ก็คือ การทำงานที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ มีปลั๊กอินและธีมให้เลือกหลากหลาย รวมไปถึงการสนับสนุนจากชุมชนร่วมกันที่มาจากส่วนแบ่งการตลาดขนาดใหญ่
โดยเฉพาะการสร้างเว็บไซต์ขององค์กร WordPress เป็น CMS ที่ปรับแต่งการออกแบบให้เข้ากับแบรนด์ของแต่ละบริษัทได้สูง ง่ายต่อมาตรการ SEO และง่ายต่อการจัดการเนื้อหา จึงเป็นเหตุผลที่บริษัทจำนวนมากเลือกใช้ WordPress
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อสร้างเว็บไซต์องค์กรด้วย WordPress
การใช้มาตรการที่เหมาะสมในประเด็นต่อไปนี้ จะช่วยให้สามารถสร้างเว็บไซต์องค์กรโดยใช้ WordPress ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
การออกแบบที่รองรับอุปกรณ์ (Responsive Design)
การสร้างเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์หลากหลายชนิด จะช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้รวมถึงช่วยปรับปรุง SEO ด้วย
สิ่งสำคัญคือการออกแบบเว็บไซต์ของให้ดูเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ที่ดูจากอุปกรณ์ที่มีขนาดหน้าจอต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต
นอกจากนี้ เครื่องมือค้นหาอย่าง Google ยังได้ประเมินเว็บไซต์ที่เป็นมิตรกับสมาร์ทโฟนไว้สูงมาก จึงเชื่อมโยงกับการปรับปรุงอันดับผลการค้นหา
การปรับแต่ง
การเลือกและออกแบบธีมและปลั๊กอินที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์แบรนด์ของบริษัท เป็นสิ่งจำเป็นในการแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของบริษัทแบบเห็นภาพได้ การเตรียมรูปภาพ ข้อความและสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสม การออกแบบที่ทำให้เว็บไซต์โดยรวมมีความเป็นอันหนึ่งเดียวกันโดยใช้การจับคู่โทนสีกับอินเตอร์เฟซผู้ใช้ จะช่วยให้ได้รับความน่าเชื่อถือในฐานะเว็บไซต์องค์กร
มาตรการรักษาความปลอดภัย
นอกจากการใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการเข้าถึงแล้ว ยังควรใช้การตรวจสอบปัจจัยสองชั้น ใช้ปลั๊กอินความปลอดภัย อัปเดต WordPress และปลั๊กอินเป็นประจำอีกด้วย สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการลบปลั๊กอินหรือธีมที่ไม่ได้ใช้งาน
การใช้ปลั๊กอินที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย เช่น Wordfence, Security และ iThemes Security จะช่วยป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ช่วยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงไฟล์ และใช้ฟังก์ชันไฟร์วอลล์ได้ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการล็อกอินโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น ตั้งฟังก์ชันเพื่อจำกัดความพยายามในการล็อกอิน
การนำใบรับรอง SSL มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ HTTPS เหมือบเว็บไซต์ทั่วไปและเข้ารหัสข้อมูล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในหน้าผู้ดูแลระบบ (wp-admin) และสำรองข้อมูลเป็นประจำก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน การใช้มาตรการเหล่านี้จะทำให้สร้างเว็บไซต์องค์กรที่มีความปลอดภัยระดับสูงได้
มาตรการ SEO
มาตรการ SEO ที่ควรดำเนินการเมื่อสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ได้แก่ การใช้คีย์เวิร์ดที่เหมาะสม การเพิ่มประสิทธิภาพการตั้งค่าลิงก์ถาวร การสร้างเนื้อหาคุณภาพสูง การเพิ่มประสิทธิภาพรูปภาพ การออกแบบที่รองรับอุปกรณ์ การปรับปรุงความเร็วของเว็บไซต์ และการใช้ลิงก์นอก รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ Meta data (Title, Description) ปลั๊กอิน SEO ได้แก่ Yoast SEO, All in One SEO Pack และ Rank Math SEO ปลั๊กอินเหล่านี้มีคุณสมบัติที่จำเป็นต่อ SEO เช่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ Meta data, สร้างแผนผังเว็บไซต์, ช่วยวิเคราะห์เนื้อหา ทำให้เครื่องมือค้นหาของเว็บไซต์มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ปลั๊กอินที่ช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน WordPress ได้แก่ W3 Total Cache, WP Super Cache, Autoptimize และ WP Rocket
ปลั๊กอินเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงการโหลดหน้าเว็บไซต์ให้เร็วขึ้นโดยการสร้างแคช, โหลดรูปภาพแบบช้า, จัดการ JavaScript และ CSS ให้เหมาะสม เมื่อใช้มาตรการนี้จะช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้และยังเป็นประโยชน์ต่อ SEO อีกด้วย
ใน WordPress สามารถสร้างหน้าคงที่ได้
โดยปกติเมื่อใช้ CMS เช่น WordPress ข้อความและรูปภาพจะเปลี่ยนไปทุกครั้งที่มีการเข้าถึง และจะมีการสร้างไฟล์ HTML ที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ทุกครั้ง หมายความว่าสามารถสร้างเว็บไซต์ได้แม้ว่าจะไม่มีความรู้ด้านการเขียนโค้ดก็ตาม
เนื่องจากไฟล์ HTML จะถูกสร้างขึ้นทุกครั้งที่ผู้ใช้เข้าถึงเว็บไซต์ซึ่งอาจสร้างภาระให้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ตามสภาพแวดล้อม ทำให้การแสดงผลในเว็บไซต์ช้าลงและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานได้
เมื่อสร้างหน้าขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้วอาจไม่เกิดการอัปเดตใดๆไปสักพักหนึ่งขึ้นอยู่กับหน้าของเว็บไซต์ WordPress จะช่วยสร้างหน้าคงที่ที่จัดเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์เป็นไฟล์ HTML ที่เขียนไว้ล่วงหน้า ทำให้มีข้อดีคือ รวดเร็วและปลอดภัย เนื่องจากมีการแสดงเนื้อหาเดียวกันทุกครั้งที่ผู้เยี่ยมชมเข้าถึง
ในการสร้างหน้าคงที่จะใช้ Cache Plugins ที่ชื่อ WP Super Cache หรือ W3 Total Cache
โดยปลั๊กอินเหล่านี้จะแปลงเว็บไซต์ WordPress เป็นไฟล์ HTML แบบคงที่ ซึ่งจะโหลดหน้าได้เร็วขึ้นและลดภาระของเซิร์ฟเวอร์ สามารถเลือกวิธีการแคชชิ่งและตั้งค่าอย่างละเอียด เช่น เงื่อนไขในการสร้างไฟล์ HTML และวันหมดอายุได้
การใช้หน้าคงที่และแบบเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาของหน้าสามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์โดยรวมได้
สรุป
การใช้ CMS ในการสร้างเว็บไซต์ขององค์กร สิ่งสำคัญคือ นอกจากจะต้องเลือกโดยพิจารณาว่าระบบนั้นรองรับการปรับแต่งการออกแบบ, มาตรการด้านความปลอดภัย, มาตรการ SEO, ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและอื่นๆได้หรือไม่แล้ว ยังต้องดูว่ามีระบบสนับสนุนที่วางใจได้หรือไม่ รวมถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น ความสามารถในการขยายตัวในอนาคต, รองรับการแสดงบนอุปกรณ์ที่หลากหลายและการรองรับหลายภาษาอีกด้วย
จากมุมมองดังกล่าว การที่ WordPress ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่นั้นมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากก็เพราะว่าใช้งานง่าย ปรับแต่งได้ยืดหยุ่น และมีปลั๊กอินหลากหลายที่รองรับฟังก์ชันและมาตรการต่างๆได้ เช่น มาตรการรักษาความปลอดภัยและการปรับปรุงประสิทธิภาพ รวมถึงมีชุมชนที่ไม่หยุดนิ่งและระบบสนับสนุน
บริษัทของเรามีผลงานการสร้างเว็บไซต์องค์กรมากมายโดยใช้ CMS เช่น WordPress
หากคุณมีคำถามหรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์องค์กร สามารถติดต่อเราได้เลย