2024.12.09

#Website

สิ่งที่ผู้รับผิดชอบด้านเว็บไซต์ควรทราบก่อนที่จะสั่งทำเว็บไซต์บริษัท

เว็บไซต์บริษัท (Corporate website) คืออะไร

เว็บไซต์บริษัท คือเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัท

เว็บไซต์บริษัทนั้นเป็นหน้าตาของบริษัทและเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลให้กับลูกค้า ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้า พนักงาน ผู้หางาน นักลงทุน ผู้ถือหุ้น พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม สื่อและอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นสื่อกลางที่เป็นแกนหลักของการตลาดในองค์กร

จุดประสงค์ของเว็บไซต์บริษัท

วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์บริษัทนั้นมีหลากหลาย เราจะลองลิสต์ตัวอย่างทั่วๆไปดังนี้

・ต้องการเพิ่มความตระหนักรู้ให้กับบริษัท
・ต้องการแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสทางธุรกิจและเพิ่มความน่าเชื่อถือ
・ต้องการส่งเสริมภาพลักษณ์แบรนด์
・ต้องการถ่ายทอดปรัชญา วิสัยทัศน์ หรือค่านิยมของบริษัท
・ต้องการประกาศเกี่ยวกับ CSR (ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร)
・ต้องการประชาสัมพันธ์ข่าวสารใหม่ๆ
・ต้องการประกาศอีเวนท์หรือการจัดแสดง
・ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ
・ต้องการซื้อและขายสินค้าทางออนไลน์
・ต้องการถ่ายทอดข้อความถึงผู้ที่ใช้ภาษาต่างประเทศด้วยนอกจากภาษาญี่ปุ่น
・ต้องการแนะนำวัฒนธรรมของบริษัท สภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่งเสริมการสื่อสารทั้งภายในและนอกบริษัท
・ต้องการรายงานข้อมูลทางการเงินแก่นักลงทุนและผู้ถือหุ้น
・ต้องการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและสื่อ
・ต้องการสนับสนุนลูกค้าและทำให้พวกเขากลายเป็นลูกค้าประจำของบริษัท
・ต้องการหาบุคลากรเก่งๆมาทำงาน
・ต้องการหาพันธมิตรทางธุรกิจ
・ต้องการเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย
・ต้องการปรับปรุงการมองเห็นทางออนไลน์โดยใช้มาตรการ SEO (เพิ่มประสิทธิภาพการค้นหา)
・ต้องการทำแบบสำรวจเพื่อทราบสิ่งที่ผู้ใช้กำลังมองหา
・ต้องการทราบความต้องการของผู้ใช้ผ่านการวิเคราะห์การเข้าถึง

และยังมีอีกมากมายนอกจากลิสต์ 20 อย่างที่กล่าวมา

หากคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการสร้างแผนผังเว็บไซต์อยู่ล่ะก็ คุณอาจพบว่าตัวเองมีไอเดียผุดขึ้นมามากมาย หากถาม AI อย่าง ChatGPT หรือ Bard ว่า “มีอย่างอื่นอีกไหม” ก็จะได้คำตอบที่รวดเร็ว

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือต้องจำกัดวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์บริษัทของคุณให้แคบลง เพราะต้องมีกำหนดการและงบประมาณเพื่อให้ทุกอย่างเกิดผลลัพธ์สูงสุด

อยากให้ลองพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นหรือไม่จำเป็นสำหรับบริษัทของคุณ จัดลำดับความสำคัญและดูว่าควรทุ่มเทในเรื่องไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด

เนื้อหาของเว็บไซต์บริษัท

มุมมองที่จำเป็นในการตัดสินใจเลือกเนื้อหาของเว็บไซต์บริษัท มี 2 อย่างดังนี้

[1] ให้สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ
[2] USP ของบริษัท (Unique Selling Proposition) กล่าวคือ การสื่อถึงเอกลักษณ์และความได้เปรียบ

เป็นความคิดที่ดีที่จะตัดสินใจเลือกเนื้อหาที่บริษัทจากมุมมองเหล่านี้ รวมถึงคำนึงกำหนดการและงบประมาณของบริษัท

ด้านล่างจะเป็นรายการเนื้อหาทั่วไปบนเว็บไซต์บริษัท เราคิดว่าจะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เลย ลองใช้สิ่งนี้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อพิจารณาว่าจำเป็นต้องมีเนื้อหาดังต่อไปนี้หรือไม่

[แนะนำบริษัท]
ข้อความจากผู้บริหาร/ข้อมูล/ปรัชญาหรือวิสัยทัศน์/ประวัติบริษัท/สำนักงาน/บริษัทในเครือ/แผนผังองค์กร/การแนะนำเจ้าหน้าที่/พันธมิตรหลักทางธุรกิจ/กิจกรรมสนับสนุนท้องถิ่น/ความยั่งยืน/การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม/สิทธิบัตร/คุณสมบัติ/รางวัลที่ได้รับ/แผนที่การเดินทาง

[แนะนำธุรกิจ]
คุณสมบัติและจุดแข็ง/ผลิตภัณฑ์และบริการ/ราคา/ขั้นตอนการติดตั้ง/การช่วยเหลือติดตั้ง/ตัวอย่างการติดตั้ง/นวัตกรรม/การวิจัยและพัฒนา

[ข้อมูลการรับสมัครพนักงาน]
ข้อความจากฝ่ายทรัพยากรบุคคล/การแนะนำงาน/การแนะนำประเภทงาน/การแนะนำรุ่นพี่ในที่ทำงาน/การอภิปรายและปรึกษา/สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อมและระบบในที่ทำงาน/เรื่องราวของโครงการ/ข้อมูลสถิติ/การเสริมทักษะ/ขั้นตอนสรรหาบุคลากร/ข้อกำหนดสรรหาบุคลากร/การฝึกงาน

[เสียงจากลูกค้าและคำถามที่พบบ่อย]

[ข่าว]
ข่าวประชาสัมพันธ์/ข้อมูลสื่อในสื่อสิ่งพิมพ์/ข้อมูลที่เป็นประโยชน์/คอลัมน์/บล็อก

[แบบฟอร์ม]
ติดต่อสอบถาม/ดาวน์โหลดข้อมูลบริษัท/ดาวน์โหลดการบริการ/ดาวน์โหลดแคตตาล็อก/สมัครเข้าร่วมกิจกรรมหรือสัมมนา/สมัครงาน

[อื่นๆ]
นโยบายความเป็นส่วนตัว/นโยบายความเป็นส่วนตัว/ข้อกำหนดการใช้งาน/แผนผังเว็บไซต์

และหากเป็นบริษัทจดทะเบียนก็จะมีการเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ IR ด้วย

การออกแบบเว็บไซต์บริษัท

ตามได้อธิบายไปแล้ว การออกแบบเว็บไซต์บริษัทจะพิจารณาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายและเนื้อหา

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการสร้างแบรนด์ขององค์กร สิ่งสำคัญคือต้องรักษาความสม่ำเสมอของเว็บไซต์โดยรวม เช่น โลโก้ การใช้สี แบบอักษรและพื้นที่ว่าง เมื่อสร้างเว็บไซต์องค์กรขนาดกลางหรือใหญ่ การสร้างแนวทางการออกแบบน่าจะเป็นความคิดที่ดีเพื่อให้นักออกแบบหลายคนทำงานได้ หากกำหนดแนวทางการออกแบบก็จะรักษาความสม่ำเสมอได้ ถึงแม้จะรับผิดชอบการดำเนินงานเว็บไซต์หลังปรับปรุงเว็บไซต์หรือเปลี่ยนบริษัททำเว็บไซต์ก็ตาม

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงความหลากหลายของผู้ใช้เว็บไซต์บริษัท การพัฒนา UI/UX ที่คำนึงความสามารถการเข้าถึงและการใช้งานได้ดียังเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากการใช้งานบนคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องใช้งานบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้ด้วย ทำให้แบบฟอร์มติดต่อสอบถามใช้งานง่ายขึ้นโดยเพิ่มความสะดวกการนำทางภายในเว็บไซต์เอง การใช้ CTA ที่เข้าใจง่าย (Call to Action) เช่น ปุ่มที่นำไปสู่แบบฟอร์มการติดต่อ และป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ออกจากแบบฟอร์มการติดต่อ หากคุณค้นหา “EFO (Entry Form Optimization)” คุณจะพบเทคโนโลยีต่างๆมากมาย

ให้ค้นหาการออกแบบที่น่าดึงดูดมากที่สุด ลองไล่สิ่งที่ต้องการรวมไว้กับการออกแบบดู เช่น ความน่าเชื่อถือ ความเป็นมืออาชีพ ความมีเอกลักษณ์ ศักยภาพในการเติบโต ความมั่นคง และความเข้าถึงง่าย เป็นต้น

การเขียนโค้ดเว็บไซต์องค์กรและการใช้งานอื่นๆ

การเขียนโค้ดสำหรับเว็บไซต์บริษัท มักทำโดยนักพัฒนาโปรแกรม (Front-end Engineer ) ในฐานะคนทำเว็บไซต์บริษัทการที่รู้ว่าควรระวังจุดไหนบ้างก็น่าจะอุ่นใจไม่น้อย

ปัจจุบัน การทำให้เว็บไซต์รองรับอุปกรณ์ได้หลายแบบจากแหล่งเดียวเป็นที่นิยมมาก ใช้คำสั่งสื่อ CSS เพื่อเปลี่ยนเค้าโครงตามความกว้างของเบราเซอร์ กล่าวคือ หากความกว้างของเบราว์เซอร์น้อยกว่า 768px ให้แสดงเค้าโครงสำหรับสมาร์ทโฟน และหากความกว้างเกิน 768px ให้แสดงเค้าโครงสำหรับบนคอมพิวเตอร์
หากต้องการเค้าโครงสำหรับแท็บเล็ต ก็ให้แจ้งกับนักพัฒนาโปรแกรมหรือวิศวกรว่าให้เพิ่มเบรกพอยต์อีกอันสำหรับใช้งานบนแท็บเล็ต

นอกจากนี้ เทคนิค SEO ยังเป็นมาตรการในการรวบรวมข้อมูลหน้าเว็บไซต์อย่างถูกต้องและจัดทำดัชนีข้อมูลลงในฐานข้อมูลเครื่องมือค้นหาเมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์บริษัท ลองปรับปรุงความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ด้วยการเขียนซอร์สโค้ดที่ใช้งานได้ดี ใช้รูปภาพที่มีคุณภาพเพียงพอ และบีบอัดภาพเพื่อลดขนาดข้อมูล นอกจากนี้การทำให้ URL เป็นมาตรฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างลำดับชั้นของเว็บไซต์ การออกแบบลิงก์ภายใน และการใช้แผนผังเว็บไซต์ XML ก็เป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงแท็ก Title, แท็ก meta description, แท็ก H, แท็ก ALT ก็มีความสำคัญเช่นกัน

ลองพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของการนำ CMS (Contents Management System) มาใช้งาน เช่น WordPress ใช้ทำงานเว็บไซต์บริษัท พูดง่ายๆคือจะสามารถอัปเดตหน้าเว็บไซต์ได้เหมือนบล็อก เพราะผู้รับผิดชอบสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องผ่านบริษัททำเว็บไซต์ สามารถลดเวลาทำงานและลดต้นทุนได้ แต่จำเป็นต้องติดตามการอัปเดตเครื่องมือและใช้มาตรการป้องกันการปลอมแปลง

มาตรการรักษาความปลอดภัยสำคัญมากกับเว็บไซต์บริษัท แม้การสร้างเซิร์ฟเวอร์บริษัทเองเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าทำสัญญาเช่าเซิร์ฟเวอร์ก็จะสะดวก เพราะมีบริการมากมายที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัย

ให้เข้ารหัสการถ่ายโอนข้อมูลทั้งหมดบนเว็บไซต์ของผ่าน HTTPS ด้วย SSL เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระหว่างผู้ใช้และเซิร์ฟเวอร์ หากไม่มีการเข้ารหัส เมื่อผู้ใช้เข้าไปเว็บไซต์ก็จะปรากฏข้อความสีแดงประมาณว่า “การเข้าถึงเว็บไซต์นี้ไม่ปลอดภัย” ขึ้นอยู่กับเบราว์เซอร์ที่ใช้ ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของบริษัทลดลงและนำไปสู่การปิดหน้าเว็บไซต์แทน

การตั้งค่าเครื่องมือทางการตลาดสำหรับการจัดการเว็บไซต์บริษัท

เว็บไซต์บริษัทไม่ได้เป็นการสร้างขึ้นและจบที่การเปิดใช้งาน เมื่อตัดสินใจแล้ว ตั้งค่า KGI และ KPI เพื่อดูว่ากำลังก้าวไปสู่เป้าหมายอยู่หรือไม่

ในเวลานั้นเราขอแนะนำให้ตั้งค่าเครื่องมือทางการตลาดที่จำเป็นสำหรับดำเนินการ PDCA ในลักษณะที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ด้านล่างนี้จะเป็นเครื่องมือใช้งานฟรี 6 อย่าง ที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกเว็บไซต์บริษัท

Google Tag Manager (GTM)

Google Tag Manager (GTM) เป็นเครื่องมือใช้งานฟรี เพื่อจัดการแท็ก (โค้ดติดตาม) ที่ติดตั้งบนเว็บไซต์จากส่วนกลาง สร้างขึ้นโดย Google เพื่ออำนวยความสะดวกในการรวบรวมข้อมูลการตลาดและการวิเคราะห์เว็บไซต์ GTM ช่วยเพิ่ม อัปเดตและทดสอบแท็ก เช่น Google Analytics (GA4) และ Google Ads โดยไม่ต้องแก้ไขโค้ดเว็บไซต์ ช่วยให้นักการตลาดและผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์บริษัทเปลี่ยนแปลงแท็กเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว
https://marketingplatform.google.com/

Google Analytics 4 (GA4)

Google Analytics 4 (GA4) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์ล่าสุดจากโดย Google ที่ใช้งานได้ฟรี เป็นเวอร์ชันที่วิวัฒนาการจาก Universal Analytics (UA) ดั้งเดิม จึงวิเคราะห์ความซับซ้อนได้มากขึ้น เช่น การติดตามข้ามแพลตฟอร์ม และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ GA4 ช่วยวิเคราะห์กลุ่มผู้ใช้และติดตามพฤติกรรมผู้ใช้ได้ละเอียดยิ่งขึ้นโดยใช้โมเดลข้อมูลที่อิงตามเหตุการณ์ ทำให้เห็นมุมมองเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเว็บไซต์โดยรวม และช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจได้
https://marketingplatform.google.com/about/analytics/

Google Search Console

Google Search Console เป็นบริการฟรีที่ช่วยให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ตรวจสอบประสิทธิภาพการค้นหาเว็บไซต์ของตนเองและเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงผลในผลการค้นหาของ Google การใช้เครื่องมือนี้ยังสามารถเช็คเพื่อดูว่าคำค้นหาใดที่นำมายังหน้าเว็บไซต์ หน้าใดที่ปรากฏในผลการค้นหา และลิงก์ไหนบ้างที่มายังเว็บไซต์บ้าง นอกจากนี้ยังระบุปัญหาในเว็บไซต์ (เช่น ข้อผิดพลาดในการรวบรวมข้อมูลหรือปัญหาด้านความปลอดภัย) และให้ข้อมูลเพื่อแก้ไข Search Console ยังมีประโยชน์สำหรับ SEO อีกด้วย
https://search.google.com/search-console/about

Looker Studio

Looker Studio เป็นหนึ่งในเครื่องมือ Business Intelligence ฟรีของ Google ชื่อเดิมคือ Google Data Studio เครื่องมือนี้ช่วยให้เห็นภาพข้อมูลและสร้างกระดานข่าวแบบโต้ตอบได้ สนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจโดยบูรณาการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลากหลายและนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เข้าใจง่ายโดยใช้แผนภูมิและกราฟ Looker Studio มีจุดเด่นที่มีหน้าตาที่ใช้งานง่าย ช่วยปรับแต่งรายงานได้อย่างง่าย เพียงใช้การลากและวาง
https://cloud.google.com/looker-studio?hl=en

Microsoft Clarity

Microsoft Clarity เป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ประสบการณ์ผู้ใช้ เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้บนเว็บไซต์ มีฟังก์ชั่น Heatmap และ User Session โดยสามารถดูการคลิก การสกรอเมาส์ การเคลื่อนไหวเมาส์ของผู้ใช้บนเว็บไซต์ ทำให้มีข้อมูลเชิงลึกเพื่อปรับปรุงการใช้งานเว็บไซต์ได้ นอกจากนี้ยังค้นหาปัญหาบนเว็บไซต์ ช่วยปรับปรุง UI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกด้วย
https://clarity.microsoft.com/lang/en-us

User Heart

User Heat เป็นเครื่องมือวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์ มีฟังก์ชัน Heatmap ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้ด้วยภาพ เช่น รูปแบบการคลิก การเคลื่อนไหวเมาส์ และระดับการสกรอเมาส์ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ช่วยเปิดเผยส่วนที่ต้องปรับปรุงบนเว็บไซต์ เช่น ส่วนใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความสนใจหรือถูกมองข้าม เครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับผู้รับผิดชอบที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพประสบการณ์ผู้ใช้
http://en.userheat.com/

ประเด็นที่ควรพิจารณาในการเลือกบริษัททำเว็บไซต์

ที่ผ่านมาเราได้พูดถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายและเนื้อหา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ควรทราบก่อนที่จะใช้บริการสร้างเว็บไซต์บริษัท

เนื้อหาบางส่วนอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่เพิ่งเป็นผู้รับผิดชอบ แต่อย่าได้กังวล นี่เป็นเพียงสิ่งที่เราอยากให้รู้ไว้ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องรู้

หากบริษัทเรารับผิดชอบทำเว็บไซต์ ขั้นตอนก็มักจะเป็นการรับฟังเนื้อหาจากผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ของลูกค้าก่อน ร่วมคิดไปพร้อมๆกัน นำเสนองานและรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าด้วย

แม้ว่าบางคนอาจจะมีความคิดเห็นว่า ถ้าอย่างนั้นก็ให้บริษัททำเว็บไซต์ยื่นข้อเสนอเลยดีไหม? แต่ก็เป็นความจริงที่บริษัททำเว็บไซต์บางแห่งอาจมีจุดยืนแบบเดียวกับบริษัทเราก็ได้เช่นกัน

จะขอไม่พูดถึงบริษัททำเว็บไซต์ที่คิดแต่ตัวเองหรือไม่มีทักษะการทำเว็บไซต์ แต่อยากให้ระวังแม้ว่าจะได้รับการนำเสนอจากบริษัททำเว็บไซต์ที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นก็ตาม

โดยเฉพาะเรื่องล่าสุดที่ได้รับการเสนอ เรามักจะพบกับผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ที่รู้สึกตื่นเต้นและตัดสินใจในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจะทำให้แตกต่างจากบริษัทอื่นแต่ว่ากลับผิดหวังในภายหลัง

ถ้าเคยคิดถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายและเนื้อหาของเว็บไซต์ของบริษัทแล้ว ก็จะเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย และตัดสินใจได้ว่าเหมาะสำหรับบริษัทของคุณหรือไม่

ประเด็นที่ควรพิจารณาเมื่อจะเลือกบริษัทผลิตเว็บไซต์อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของบริษัทแต่ตามปกติจะมีดังนี้

・เข้าใจ “วัตถุประสงค์” “เป้าหมาย” “การวางตำแหน่ง” และ “เนื้อหา” หรือไม่
・มีประสบการณ์มากมายและประวัติในการสร้างเว็บไซต์บริษัทหรือไม่
・มีประสบการณ์และผลงานมากพอในการสร้างเว็บไซต์ในระดับที่คาดหวังหรือไม่
・มีจุดยืนและเทคโนโลยีที่สะท้อนถึง CI ของบริษัท (เอกลักษณ์องค์กร) หรือไม่
・มีทักษะในการสื่อสารหรือไม่?
・กำหนดการและงบประมาณมีความสมเหตุสมผล และเหมาะกับบริษัทของคุณหรือไม่
・มีบริการหลังการขายหรือไม่
・มีความเป็นมืออาชีพหรือไม่
(หมายถึง การเข้าถึง, การใช้งาน UI/UX, การออกแบบเว็บไซต์, การเขียนคำ, การเขียนโปรแกรม, อุปกรณ์เคลื่อนที่, การใช้ SEO, การเชื่อม SNS, การวิเคราะห์การเข้าถึง, การโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต, โดเมนและเซิร์ฟเวอร์ ฯลฯ)
・ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยได้หรือไม่
・มีช่องโหว่ในระบบการสร้างเว็บไซต์หรือไม่
・สามารถจัดการการดำเนินงานหลังการเปิดใช้เว็บไซต์ได้ต่อเนื่องหรือไม่

ควรระวังในเรื่องเหล่านี้เพื่อความสำเร็จในการสร้างเว็บไซต์บริษัทที่มีความสำคัญต่อองค์กร

ผลงานการสร้างเว็บไซต์บริษัท

ผลงานในการผลิตเว็บไซต์ของเรามีมากกว่า 300 รายการอยู่ในหน้า “Works” ของเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ โดยประมาณ 1 ใน 3 เป็นเว็บไซต์บริษัท

https://www.e-bird.co.th/works/

สิ่งเหล่านี้โพสต์โดยได้รับอนุญาตจากลูกค้าแล้ว เรามีผลงานมามากมายตลอด 21 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา

หากต้องการสอบถามเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ได้โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา

ด้านล่างนี้เราจะขอแสดงตัวอย่างผลงานการผลิตเว็บไซต์บริษัท ด้านซ้ายเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ และด้านขวาเป็นหน้าจอบนสมาร์ทโฟน

เว็บไซต์บริษัท PERSONNEL CONSULTANT MANPOWER(THAILAND) CO., LTD.
https://www.personnelconsultant.co.th

ถามตอบเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์บริษัท

นอกจากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้ว เราคิดว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่ผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ต้องการทราบ มาดูคำถามที่มักพบบ่อยๆและคำตอบแต่ละข้อแบบกระชับใน 200 ตัวอักษร

Q : การสร้างเว็บไซต์บริษัทมีขั้นตอนอย่างไร

A : ขั้นตอนจะเป็นดังนี้ วางแผน → ออกแบบ → สร้างเนื้อหา → ออกแบบ → เขียนโค้ด → ใช้งานระบบ → ใช้และตั้งค่าเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการตลาดดิจิทัล → เปิดใช้งานเว็บไซต์ → การจัดการเว็บไซต์ โดยพื้นฐานแล้ว เราจะทำข้อเสนอและตรวจเช็คในทุกขั้นตอน หากต้องการซื้อโดเมนหรือทำสัญญาสำหรับเซิร์ฟเวอร์ เราก็ช่วยคุณได้เช่นกัน
เราจะทำการแชร์กำหนดการและควบคุมความคืบหน้า เพื่อให้ผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ไม่สับสนว่าควรทำอะไรตอนนี้หรือควรจะทำอะไรต่อไป

Q : การสร้างเว็บไซต์บริษัทใช้เวลานานแค่ไหน?

A : ขึ้นอยู่กับขนาดของเว็บไซต์ และต้องมีการสัมภาษณ์ การจัดแสง ถ่ายภาพ หรือมีการสร้างระบบด้วยหรือไม่ ซึ่งไม่สามารถตอบได้ชัดเจนแต่โดยปกติจะใช้เวลา 3 ถึง 4 เดือน ในบางกรณีอาจใช้เวลาวางแผนเพียงอย่างเดียวถึง 2 เดือน และในบางกรณีระยะเวลาการยืนยันในแต่ละขั้นตอนก็ใช้เวลานาน บางครั้งอาจนานถึง 6 เดือน
ไม่ว่าในกรณีใด เราจะดำเนินการแต่ละกระบวนการควบคู่กันไปเพื่อไม่ให้เกิดช่วงเว้นว่าง

Q : มีทักษะใดที่จำเป็นต่อการสร้างเว็บไซต์บริษัท

A : ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์บริษัท นอกจากทักษะการออกแบบและการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐานแล้ว ความรวดเร็วในการตอบสนองลูกค้าและทักษะในการอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่ายก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะทำให้การติดต่องานไม่มีความเครียดและได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า โดยเฉพาะหากมีการอัปเดตเนื้อหาบ่อยๆ โครงการจะไม่หยุดทำงานแม้ว่าบุคคลหลักที่รับผิดชอบจะไม่อยู่ก็ตาม

Q : มีการจัดการเกี่ยวกับ SEO อย่างไร?

A : แม้ว่าคุณจะใช้มาตรการ SEO ในระหว่างการก่อสร้าง แต่ในระหว่างดำเนินการ หน้าที่อัปโหลดใหม่จะต้องได้รับการปรับปรุงใน Core Web Vital ของ Google (LCP, FID, CLS) อย่างน้อยที่สุด ให้ตรวจสอบ Google Search Console
หากเว็บไซต์บริษัทของคุณมีคอลัมน์หรือบล็อก ในการเขียนบทความจะต้องเลือกคีย์เวิร์ดอย่างมีกลยุทธ์และเขียน SEO

Q : CMS คืออะไร?

A : CMS ย่อมาจาก (Contents Management System) เป็นระบบที่ใช้จัดการเนื้อหา ช่วยสร้างและอัปเดตหน้าเว็บไซต์ได้เหมือนกับบล็อก รวดเร็วและคุมต้นทุนได้โดยไม่ต้องผ่านบริษัทรับทำเว็บไซต์
โปรแกรมที่ใช้งานหลักๆกันมากที่สุดคือ WordPress เป็นโอเพ่นซอร์สที่ใช้งานได้ฟรีและได้รับความนิยม แม้แต่บริษัทจดทะเบียนก็ยังนำโปรแกรมมาใช้กันมากมาย แต่ก็ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยด้วย

Q : สามารถสร้างเว็บไซต์เป็นภาษาต่างประเทศได้หรือไม่?

A : เรากำลังพยายามสร้างเว็บไซต์หลายภาษา และมีผลงานการสร้างเว็บไซต์บริษัทมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ของบริษัทระดับโลกหรือเว็บไซต์ท่องเที่ยวที่ดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่น
นอกจากนี้ เรามีบริษัทในไทยที่ก่อตั้งมาเป็นเวลา 13 ปี โดยเฉพาะเว็บไซต์ภาษาไทยที่มีเจ้าของของภาษาคอยให้ความช่วยเหลือในทุกๆขั้นตอน

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์บริษัท กรุณาติดต่อได้ที่หน้า ติดต่อสอบถาม

สรุป

ในบทความนี้ เราได้อธิบายให้ผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ได้ทราบตั้งแต่วัตถุประสงค์ เป้าหมาย เนื้อหา การออกแบบ ไปจนถึงการเขียนโค้ดและเครื่องมือการตลาดที่ใช้ในการจัดการเว็บไซต์บริษัท รวมถึงประเด็นที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์

นอกจากนี้ยังได้แนะนำผลงานการสร้างเว็บไซต์ของบริษัท และถามตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์

มีเว็บไซต์บริษัทยังมีหลายประเภท เราจะยินดีเป็นอย่างยิ่งหากผู้อ่านให้คำแนะนำแก่เราด้วยเช่นกัน