มาตรการ SEO เป็นวิธีการสำคัญในการปรับปรุงอันดับเครื่องมือค้นหาของเว็บไซต์หรือบล็อก และในวิธีการนั้นการเลือกคำค้นหาก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก
แต่หลายๆคนมักจะกังวลเกี่ยวกับวิธีเลือกคำค้นหา ในบทความนี้เราจึงอยากลองคิดวิธีที่เหมาะสมในการเลือกคำค้นหาจาก “ความเกี่ยวข้อง” และ “ระดับของนามธรรม” ของคำค้นหา
“ความเกี่ยวข้อง” ระหว่างคำค้นหาและจุดประสงค์การค้นหาของผู้ใช้
ในเครื่องมือค้นหา ตัวอย่างเช่น เมื่อค้นหาคำว่า “ร้านซูชิ กรุงเทพ”
รายการและเว็บไซต์รีวิวร้านอาหารจะปรากฏในอันดับต้นของการค้นหา ถ้าเราเป็นผู้จัดการร้านซูชิในกรุงเทพและให้ความสำคัญในเรื่อง SEO ก็คงจะสงสัยว่า “ทำไมเว็บไซต์ของร้านถึงไม่ติดอันดับต้นนะ” ใช่ไหมล่ะ?
แนวคิดในเรื่อง “ความเกี่ยวข้อง” ของเครื่องมือค้นหานั้น มีผลอย่างมากกับสิ่งที่กล่าวไป
Google จะมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้ที่ได้ใช้คำค้นหามากที่สุดและแสดงหน้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ไว้ที่อันดับบน ซึ่งก็คือเป็นระบบที่ประเมินเนื้อหาให้ตรงกับจุดประสงค์การค้นหาของผู้ใช้นั่นเอง
Google มีการกำหนดความเกี่ยวข้องกันระหว่างคำค้นหาและจุดประสงค์การค้นหาของผู้ใช้ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. การรวมจำนวนการค้นหา
Google ติดตามความถี่ในการค้นหาคำที่เฉพาะเจาะจง โดยทั่วไปคำค้นหาที่มีการค้นหาสูงนั้นบ่งบอกว่าผู้ใช้จำนวนมากกำลังมองหาข้อมูลนั้น จากข้อมูลนี้ Google จะประเมินความต้องการคำค้นหาและความเกี่ยวข้อง
2. การรวบรวมพฤติกรรมหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์
Google ยังทำการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้ทำหลังจากคลิกผลการค้นหา ซึ่งรวมสิ่งต่างๆ อย่างเวลาที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ อัตราตีกลับและอัตราการคลิก (CTR) ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้ค้นหา “ร้านซูชิ กรุงเทพ” และอยู่ในเว็บไซต์หนึ่งเป็นเวลานานและดูหน้าเว็บไซต์อื่นด้วย เว็บไซต์นั้นจะถูกกำหนดให้ตรงกับจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้ จากข้อมูลพฤติกรรมนี้ Google จะประเมินความเกี่ยวข้องของผลการค้นหา
3. การใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่อง
Google ใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่องในการเรียนรู้ข้อมูลที่เคยค้นหาและข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้ เพื่อปรับปรุงความแม่นยำของผลการค้นหาในอดีต ซึ่งช่วยให้คาดการณ์ได้แม่นยำมากขึ้นว่าคำค้นหาที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างไร
เครื่องมือค้นหาจะรวบรวมข้อมูลข้างต้นในทุกๆวัน กำหนดเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องสูงกับการค้นหาที่ผู้ใช้ตั้งใจและอัปเดตซ้ำๆเป็นประจำ
เมื่อลองค้นหาด้วยตัวอย่างคำว่า “ร้านซูชิ กรุงเทพ” เครื่องมือค้นหาจะจดจำจุดประสงค์ในการค้นหาที่ว่า “ผู้ใช้กำลังหาร้านซูชิที่แนะนำในกรุงเทพฯ” โดยพิจารณาจากข้อมูลที่รวบรวมไว้ข้างต้น
เครื่องมือพยายามตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ด้วยการแสดงเนื้อหาที่รู้สึกว่ามีประโยชน์ไว้ในอันดับบนเมื่อผู้ใช้กำลังหาร้านซูชิแนะนำในกรุงเทพ
ระดับของนามธรรม (ความเป็นรูปธรรม)
อีกแง่หนึ่งมีแนวคิดที่เรียกว่า “ระดับของนามธรรม (ความเป็นรูปธรรม)”
ใน SEO การเข้าใจเรื่องระดับของนามธรรมและความเป็นรูปธรรมของคำค้นหาเป็นสิ่งสำคัญมาก
คำค้นหาที่มีระดับนามธรรมสูงคือ คำหรือวลีที่มีความหมายกว้างและเป็นคำทั่วไป
คำค้นหาประเภทนี้มีจุดประสงค์ในการค้นหาแบบกว้างๆ เป็นคำค้นหาทั่วไปและเข้าถึงผู้ใช้จำนวนมาก แต่ก็จะมีแนวโน้มการแข่งขันสูงและจัดอันดับได้ยาก
ตัวอย่างเช่น
“ซูชิ”
คำค้นหานี้มีความหมายกว้างมาก และผู้ใช้ที่ค้นหากำลังมองหาข้อมูลที่หลากหลาย โดยค้นหาคำว่า “ซูชิ” ในวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นประวัติของซูชิ สูตรอาหาร ร้านซูชิ หรือข้อมูลทางโภชนาการ
ในทางกลับกัน คำค้นหาที่เป็นรูปธรรมมากจะมีขอบเขตแคบกว่าและระบุชัดเจนว่ากำลังมองหาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง เพราะมีการตอบสนองความต้องการที่เจาะจง ทำให้มีแนวโน้มที่จะตอบสนองจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้ได้ชัดเจน และมีการแข่งขันน้อยกว่า ทำให้มีแนวโน้มที่จะแสดงผลในอันดับบนอีกด้วย
ยกตัวอย่างคำนามที่เหมาะเป็นคำค้นหาที่เป็นรูปธรรมมาก จุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้ที่ค้นหาโดยใช้คำนามเจาะจง เช่น ชื่อแบรนด์ ชื่อร้านค้า ชื่อบริการ ชื่อผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ นั่นหมายถึงการที่ “ต้องการรู้จักแบรนด์และบริการ” เมื่อค้นหาชื่อบริษัทหรือร้านค้า ชื่อก็จะอยู่ในอันดับบนและมีโอกาสที่จะแสดงผลสูง
ความเป็นรูปธรรมของคำค้นหาจะสูงขึ้นตาม “การผสมคำ”
ตัวอย่างเช่น
“กินเลี้ยง ร้านซูชิ อโศก”
คำค้นหานี้ระบุอย่างชัดเจนว่าผู้ใช้กำลังมองหาร้านซูชิแถวอโศกในกรุงเทพฯเพื่อกินเลี้ยง การมีจุดประสงค์ในการค้นหาที่ชัดเจนทำให้ง่ายต่อการให้ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ
ยกตัวอย่างการผสมคำค้นหาที่เพิ่มความเฉพาะเจาะจง
1. มุมมองด้านตำแหน่งที่ตั้ง
การเพิ่มองค์ประกอบในด้านตำแหน่งที่ตั้งทำให้คำค้นหามีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นและยังตอบสนองจุดประสงค์ในการค้นหาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นได้โดยการระบุพิกัดสถานที่แบบเจาะจง
ตัวอย่าง: “ร้านซูชิ” → “ร้านซูชิ กรุงเทพ” → “ร้านซูชิ กรุงเทพ ทองหล่อ”
2. มุมมองด้านเวลา
การตอบสนองความต้องการที่เจาะจงมากขึ้นโดยการเพิ่มคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับเวลาหรือฤดูกาลที่เจาะจง
ตัวอย่าง: “ซูชิ” → “ซูชิ กรุงเทพ” → “ซูชิ มื้อกลางวัน กรุงเทพ”
3. คุณสมบัติและเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง
การเพิ่มความเป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยการเพิ่มคุณสมบัติและเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง
ตัวอย่าง: “ร้านซูชิ” → “ร้านซูชิ กรุงเทพ” → “ร้านซูชิพรีเมียม กรุงเทพ”
4. เจตนาในการซื้อ
การเพิ่มคำค้นหาที่มีเจตนาในการซื้อของผู้ใช้ลงไปด้วยจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง: “ซูชิ” → “ซูชิ กรุงเทพ” → “บุฟเฟ่ต์ ซูชิ กรุงเทพ”
5. คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและจุดประสงค์
การเพิ่มคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือจุดประสงค์แบบมีรูปธรรมที่ผู้ใช้กำลังเผชิญอยู่ จะช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
ตัวอย่าง: “ร้านซูชิ” → “ร้านซูชิ กรุงเทพ” → “ร้านซูชิ กรุงเทพ เดลิเวอรี”
การทำความเข้าใจคุณลักษณะเฉพาะเหล่านี้จะทำให้จัดระเบียบคำค้นหาที่ระบุจากมุมมองหลากหลายได้และเลือกใช้คำค้นหาได้เหมาะสมกับกลยุทธ์ SEO
การจัดลำดับความสำคัญของคำค้นหาในเรื่องความเกี่ยวข้องและระดับของนามธรรมด้วยแกน
เมื่อแสดงเรื่องความเกี่ยวข้องในแกนแนวนอน และระดับของนามธรรมในแกนแนวตั้ง จะแบ่งออกได้เป็น 4 โซนดังนี้
เมื่อเลือกคำค้นหาสำหรับ SEO การใช้แกนมาแสดงความเกี่ยวข้องและระดับของนามธรรมจะช่วยให้จัดลำดับความสำคัญได้
[A] “มีความเกี่ยวข้องสูง + มีความเป็นรูปธรรมสูง”
มีจุดเด่นที่เมื่อคำค้นหามีความเกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้สูงและมีการแข่งขันน้อย จะทำให้แสดงผลในอันดับบนได้ง่าย ถึงจะมีปริมาณการค้นหาต่ำ แต่โซนนี้มีอัตราการเปลี่ยนแปลงสูงเพราะมีแนวโน้มที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และส่งผลต่อธุรกิจได้มาก
[B] “มีความเกี่ยวข้องสูง + มีระดับของนามธรรมสูง”
มีจุดเด่นที่ปริมาณการค้นหาสูงและคาดหวังเรื่องการเข้าชมได้เป็นจำนวนมาก แต่มีการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งต้องใช้กลยุทธ์ SEO ที่มีประสิทธิภาพและมีเนื้อหาคุณภาพสูง แต่ถ้าประสบความสำเร็จก็คาดหวังได้ว่าจะมีการเข้าชมเป็นจำนวนมาก
[D] “มีความเกี่ยวข้องต่ำ + มีความเป็นรูปธรรมสูง”
มีจุดเด่นที่การแข่งขันต่ำในขอบเขตเฉพาะกลุ่ม แต่การเข้าชมต่ำเพราะมีปริมาณการค้นหาต่ำ นี่คือโซนที่สามารถดึงดูดผู้ใช้เฉพาะกลุ่มได้มาก โดยเลือกตลาดเฉพาะกลุ่มเป็นเป้าหมายและเพิ่มความเชี่ยวชาญให้สูงขึ้น
[C] “มีความเกี่ยวข้องต่ำ + มีระดับของนามธรรมสูง”
มีจุดเด่นที่ปริมาณการค้นหาสูง แต่มีการแข่งขันรุนแรงและส่งผลต่อ SEO น้อย อีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายต่ำ มีโอกาสทำให้อัตราการคลิกต่ำและได้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ
วิธีคิดจะแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ แต่ในกรณีของมาตรการ SEO โดยทั่วไปที่มีเป้าหมายเพิ่มการเข้าถึงเว็บไซต์และเพิ่มประวัติ โซน [B] หากมีการแสดงผลที่อันดับบน ก็ยังคาดหวังได้ว่าจะมีการเข้าถึงเว็บไซต์มากขึ้น แต่แสดงผลในอันดับบนได้ยากก็มีเยอะ และถึงจะพยายามก็มีโอกาสที่จะไม่เห็นผลเลย ดูจากคำค้นหา “ร้านซูชิ กรุงเทพ” ที่อยู่ในตอนต้นของบทความนี้เป็นตัวอย่างได้
ก่อนอื่นเลย ทิศทางของ [A] จะเป็นการเพิ่มความหลากหลายของคำค้นหาและปรับปรุงคุณภาพของแต่ละเนื้อหา ในขณะที่ [B] จะมีประสิทธิภาพในการแสดงผลไว้ในอันดับบน นอกจากนี้ หากนึกถึงคำค้นหาจำนวนมากในทิศทางของ [A] ความเกี่ยวข้องจะค่อยๆลดลง แต่ก็ยังมีกรณีที่คำค้นหาที่คิดว่าไม่เกี่ยวข้องกันเพียงเล็กน้อยกลับมีการเข้าถึงมากกว่าที่คาดไว้ หรือคำค้นหาที่คิดว่าไม่เกี่ยวข้องเลยกลับตรงกับความต้องการเฉพาะกลุ่ม จริงอยู่ที่ควรให้ความสำคัญกับคำค้นหาที่มีความเกี่ยวข้องสูงเป็นอันดับแรก แต่บางครั้งก็ต้องลองใช้คำค้นหาที่มีความเกี่ยวข้องน้อยกว่าและหาความต้องการของผู้ใช้ให้เจอ
สรุป
การเลือกคำค้นหาเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการทำ SEO สามารถตั้งเป้าหมายที่จะติดอันดับบนในเครื่องมือค้นหาและเพิ่มการเข้าถึงเว็บไซต์ ด้วยการเลือกคำหลักที่มีความเกี่ยวข้องสูงและจัดเตรียมเนื้อหาที่เหมาะสม พร้อมกับคำนึงถึงความสมดุลระหว่างปริมาณการค้นหาและอัตราการแข่งขัน ในอีกแง่หนึ่ง การที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ต้องใช้แนวทางเชิงกลยุทธ์และความพยายามอย่างต่อเนื่อง มาใช้มาตรการ SEO ที่มีประสิทธิภาพโดยเลือกคำค้นหาที่เหมาะสมและสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงกันเถอะ