คิดว่าคงมีหลายคนที่กังวลว่า “จะเลือกโดเมนยังไงดี” เมื่อจะสร้างเว็บไซต์ใหม่ในไทย เมื่อจะสร้างเว็บไซต์ใหม่ในไทย มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำเว็บไซต์ แต่พื้นฐานคือการเลือกโดเมน เราจะแนะนำสิ่งที่ควรพิจารณาการเลือกโดเมนเมื่อมีเป้าหมายการตลาดในไทย
พื้นฐานเกี่ยวกับโดเมนที่ควรรู้
เมื่อจะเลือกโดเมน ถ้าได้ทำความเข้าใจก่อนว่าโดเมนคืออะไรและมีประเภทไหนบ้างก็คงจะดีไม่น้อย
โดเมนของเว็บไซต์ คือที่อยู่ที่ระบุเว็บไซต์เฉพาะเจาะจงบนอินเทอร์เน็ต และเป็นสิ่งที่ระบุที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต โดเมนของเว็บไซต์จะสอดคล้องกับ IP address และ IP address จะแสดงเป็นตัวเลข โดเมนจึงถูกนำมาใช้เพื่อให้คนจำง่าย และเข้าถึงด้วยเบราเซอร์ได้ง่าย เบราเซอร์จะแปลงชื่อโดเมนเป็น IP address และเข้าถึงเว็บไซต์นั้นๆ
โดยทั่วไปโดเมนจะมีโครงสร้างตามที่แสดงไว้ด้านบน
① โดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domain, TLD)
โดเมนระดับบนสุด จะอยู่ที่ด้านขวาของโดเมนและจะอยู่ด้านบนสุดของลำดับชั้นในชื่อโดเมน เช่น example.com โดเมนระดับบนสุดคือ “.com”
ใน TLD หลักๆก็มีหลายประเภท
・โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป (gTLD) เป็นโดเมนระดับบนสุดที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทั่วไป เช่น .com, .org, .net เป็นต้น โดเมนพวกนี้ไม่ได้หมายถึงประเทศหรือภูมิภาคใดแบบเจาะจง และมีการใช้กันแบบสากล
・โดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ (ccTLD) เป็นโดเมนระดับบนสุดที่ได้กำหนดให้กับแต่ละประเทศหรือภูมิภาค โดยระบุประเทศหรือภูมิภาคไว้แบบเจาะจง เช่น .jp หมายถึงประเทศญี่ปุ่น .uk หมายถึงประเทศอังกฤษ และสำหรับประเทศไทยคือ .th
・โดเมนระดับบนสุดทั่วไปใหม่ (New gTLD)
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการนำโดเมนระดับบนสุดทั่วไปใหม่มาใช้มากมาย และชื่อโดเมนก็ได้ขยายออกไปอย่างหลากหลาย เช่น .app, .blog, .guru เป็นต้น
② โดเมนลำดับที่สอง (Second-Level Domain, SLD)
โดเมนที่อยู่ใต้โดเมนระดับบนสุด (TLD) ในลำดับชั้นโดเมนของเว็บไซต์ เป็นส่วนชื่อของโดเมนที่มีความเจาะจง ปกติจะใช้เพื่อระบุชื่อองค์กรหรือแบรนด์ หรือลักษณะเนื้อหา โดยทั่วไปแล้วจะช่วยให้ผู้ใช้จำเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น เช่น .co คือบริษัทหรือองค์กร .ac คือสถาบันการศึกษา และ .or คือองค์กรที่เฉพาะเจาะจง
③ ชื่อโฮสต์ (Subdomain)
ชื่อโฮสต์เรียกว่า โดเมนย่อย พอได้รับโดเมนแล้วจะสามารถตั้งค่าได้อิสระ
www เป็นตัวย่อของ “World Wide Web” มักจะถูกใช้กับเว็บไซต์มากมาย แต่ไม่ได้มีฟังก์ชั่นเฉพาะและไม่ได้จำเป็น มันเป็นแค่การแสดงผลให้เห็น แต่ความประทับใจที่คนได้รับมีความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์ของเว็บไซต์ ดังนั้นลองตัดสินใจดูว่าจะให้มี www หรือไม่มี ก็ได้เช่นกัน
การเลือกโดเมนมีผลต่อมาตรการ SEO ไหม?
ว่ากันว่าไม่ว่าจะเลือกอักขระแบบไหนให้กับโดเมน ฟังก์ชั่นหรือการประเมินเครื่องมือค้นหาก็ไม่ได้เป็นเรื่องผิด
เช่น ไม่ว่าจะใช้ .com หรือ .net ก็ไม่ผิด และถึงแม้จะใช้ อักขระที่ยาวมากหรืออักขระที่ไม่มีความหมายให้กับ SLD ก็ไม่ได้มีผลต่อการประเมินของเครื่องมือค้นหา เพียงแค่เป็นอักขระที่ผู้ใช้เข้าใจง่ายและจำได้ง่ายก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีแล้ว
ในทางกลับกันว่ากันว่า เครื่องมือค้นหาใช้ตัวบ่งชี้ที่ผสมผสานแกนการประเมินต่างๆเข้าด้วยกันอย่างซับซ้อน และโดเมนก็รวมอยู่ในนั้นด้วย การยึดติดกับ SEO มากเกินไปไม่ค่อยดีนัก แต่ในเครื่องมือค้นหามีนโยบายในการให้ข้อมูลที่เข้าใจง่าย เชื่อถือได้ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ดังนั้นการพิจารณา SEO ให้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกโดเมนจึงเป็นสิ่งสำคัญ การใช้ SEO เป็นแนวทางตัดสินใจเลือกโดเมนอาจจะเป็นความคิดที่ดี
เช่น ในระดับความน่าเชื่อถือของเนื้อหา โดเมนที่ต้องมีเงื่อนไขในการจดทะเบียนอย่าง co.jp, co.th จะได้รับการประเมินจากเครื่องมือค้นหาว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูง นอกจากนี้ ตอนที่เลือกโดเมนสิ่งที่สำคัญคือการพิจารณาอย่างเพียงพอว่าผู้ใช้ต้องการข้อมูลจากประเทศไหนหรือพื้นที่ใด
การเลือกใช้ตามจุดประสงค์และหน้าที่ของเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญ การตัดสินใจว่าจะสอดคล้องกับการดำเนินงานของเว็บไซต์หรือไม่ และผู้ใช้จะเข้าใจได้ง่ายไหมก็เป็นสิ่งจำเป็น
การเลือกโดเมนที่เหมาะกับเว็บไซต์ในไทย
เมื่อเลือกโดเมน ต้องพิจารณาว่าเว็บไซต์มีวัตถุประสงค์อะไร และมีกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้แบบไหน
การทำเว็บไซต์ในไทย วัตถุประสงค์จะพิจารณาเป็นกรณีไป เช่น มุ่งไปที่คนไทยในตลาดไทย มุ่งไปที่คนญี่ปุ่น หรือมุ่งไปที่คนญี่ปุ่นที่อยู่ในไทย คิดว่าการตัดสินใจโดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายจะดีที่สุด เช่น .co.th เป็นโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศไทย (ccTLD) จึงเหมาะกับธุรกิจและองค์กรในไทย
การจะได้รับโดเมน ต้องมีหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลในไทยและหลักฐานการมีบริษัทในไทย ดังนั้นสำหรับบริษัทที่ดำเนินการให้บริการกับคนไทย โดเมนนี้จะมีภาพลักษณ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง กล่าวได้ว่าเป็นโดเมนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเว็บไซต์องค์กรที่จะดำเนินกิจการในตลาดไทย
ในทางกลับกัน เมื่อมองจากผู้ใช้นอกเหนือจากในไทย เช่น เมื่อเห็นโดเมนชื่อ co.th แวบแรก ก็อาจจะมีคนที่ไม่รู้ว่าเป็นเว็บไซต์ของบริษัทในไทย และเป็นไปได้ว่าจะมีผู้ใช้ที่คิดว่าเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือเพียงเพราะว่าเป็นเว็บไซต์ต่างประเทศ ถ้ามีความคิดในการทำธุรกิจระดับโลกโดยเริ่มจากไทยเป็นหลัก ให้พิจารณาอย่างรอบก่อนจะดีกว่า
.com เป็นโดเมนที่ได้รับความนิยมในระดับโลกและใช้กันแพร่หลายในหลายๆประเทศ หากมุ่งเป้าไปที่ธุรกิจระหว่างประเทศหรือมีแผนการขยายธุรกิจในอนาคต การใช้ .com ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
กลับกันในกรณีเว็บไซต์ได้รับความนิยมมาก จนตัดสินได้ยากว่าเป็นเว็บไซต์อะไรจากไหนโดยดูแค่ url ก็อาจทำให้ไว้ใจได้ยากเหมือนกัน
การที่โดเมนที่ต้องการสามารถใช้งานได้หรือไม่ก็สำคัญ โดยเฉพาะคำหรือวลีทั่วไปก็มีโอกาสที่ผู้ใช้คนอื่นจะใช้งานไปแล้ว จึงจำเป็นต้องเช็คก่อน
เราคิดว่าตัวเลือกสุดท้าย ควรจะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่เป็นความต้องการเฉพาะตัวของธุรกิจบริการ
หากมีเว็บไซต์อยู่แล้ว เว็บไซต์ใหม่จะเป็น "โดเมนย่อย" หรือไม่ และเป็น "ไดเรกทอรีย่อย" หรือไม่
เมื่อจะตัดสินใจเรื่องโครงสร้าง url จะพิจารณาหลายปัจจัยว่าควรเลือกอันไหนระหว่างไดเรกทอรีย่อย (example.com/sub/) กับโดเมนย่อย (sub.example.com) แต่ไม่ว่าอันไหนก็จะถูกใช้เมื่อมีการเพิ่มเนื้อหา ดังนั้นการใช้งานโดยแยกตาม “ความเกี่ยวข้อง” หรือ “การใช้งานและวัตถุประสงค์” ของเว็บไซต์หลักก็เป็นเรื่องที่ดี
เราขอแนะนำสิ่งที่จะช่วยอ้างอิงและตัดสินใจว่าควรเลือก “ไดเรกทอรีย่อย” หรือ “โดเมนย่อย”
ถ้าเลือก “ไดเรกทอรีย่อย”
ไดเรกทอรีย่อย คือ กลุ่มตัวอักษร (ไดเรกทอรี) ที่ต่อท้ายชื่อโดเมนหลัก เช่น “example.com/sub/” ว่ากันว่าไดเรกทอรีย่อยสืบทอดอำนาจโดเมนมาจากโดเมนหลัก และเครื่องมือค้นหาจะรับรู้ถึงเนื้อหาหรือหน้าที่ตั้งอยู่ที่ไดเรกทอรีย่อยได้ง่ายมากกว่าเนื้อหาหรือหน้าที่สร้างด้วยโดเมนย่อย
ไดเรกทอรีย่อย เป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์หลัก จึงเหมาะกับการนำเสนอเนื้อหาหรือบริการที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับเว็บไซต์หลัก
และไดเรกทอรีย่อยยังมีข้อดีตรงที่อยู่ในโดเมนเดียวกัน ทำใหเการบำรุงรักษา เช่น โฮสติ้ง, การรับรอง SSL และการต่ออายุโดเมน เป็นเรื่องง่าย
ถ้าเลือก “โดเมนย่อย”
โดเมนย่อย คือชื่อโดเมนที่ถูกแบ่งตามการใช้งาน มีรูปแบบเป็น sub.example.com ที่มีการเพิ่มกลุ่มตัวอักษรไว้ที่ชื่อโดเมนที่จะใช้เป็นหลัก และเพราะถูกมองว่ามีอิสระจากโดเมนหลัก จึงเหมาะกับการทำงานโปรเจกต์หรือแบรนด์ ซึ่งต่างกับโดเมนหลัก
แต่ละโดเมนย่อยสามารถตั้งค่า DNS ที่มีลักษณะเฉพาะได้ ทำให้สามารถใช้เซิร์ฟเวอร์และผู้ให้บริการโฮสติ้งที่แตกต่างกันได้ และเพราะว่าเป็นอิสระจากโดเมนหลัก จึงมีข้อได้เปรียบที่แม้ว่าโดเมนหนึ่งจะถูกโจมตี ก็จะส่งผลต่ออีกโดเมนหนึ่งได้ยาก
นอกจากนี้โครงสร้าง url จะส่งผลต่อความยากง่ายในการจำและการป้อนข้อมูลของผู้ใช้ จึงควรพิจารณาตัวเลือกจากมุมมองในการใช้การงานได้ง่ายด้วย
สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของ งบประมาณ ทรัพยากร กลยุทธ์ SEO ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของโปรเจกต์ แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะเลือกไดเรกทอรีย่อยหรือโดเมนย่อย
วิธีการจดโดเมนในไทย
ในการจดโดเมน จะสมัครจดทะเบียนกับบริษัทเซิร์ฟเวอร์ให้เช่าหรือบริษัทโดเมนที่ให้บริการจดทะเบียนโดเมน ถ้าเป็นโดเมนระดับบนสุดทั่วไป (gTLD) เช่น “.com” และ “.net” สามารถจดทะเบียนได้ที่บริษัทเซิร์ฟเวอร์และบริษัทโดเมนในญี่ปุ่นได้ แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายโดเมนจะเป็นเงินเยนญี่ปุ่น ถ้าต้องการชำระเป็นเงินบาท จะต้องลงทะเบียนกับบริษัทเช่าเซิร์ฟเวอร์หรือบริษัทโดเมนในไทย
ถ้าต้องการใช้ “co.th” ต้องลงทะเบียนกับบริษัทเซิร์ฟเวอร์หรือบริษัทโดเมนในไทย ตอนสมัครต้องยื่นเอกสารจดทะเบียนบริษัทเพื่อรับรองว่ามีบริษัทจัดตั้งอยู่ในไทย
โดเมน “co.th” สำหรับบริษัทนั้นสามารถสมัครได้ตลอด แต่โดเมน “.th” จะรับจดเพียงแค่ไม่กี่ครั้งต่อปีในระยะเวลาที่จำกัด
บริษัทของเรารับจัดทำเว็บไซต์และดำเนินการรับจดโดเมน หากคุณมีความกังวลในเรื่องการจดโดเมนในไทยดังต่อไปนี้
・ต้องการสร้างเว็บไซต์โดยใช้โดเมน “co.th”
・ต้องการใช้โดเมนโดยจ่ายเงินบาทไทย แต่จะติดต่อกับบริษัทที่ให้บริการจดโดเมนในไทยก็ยาก
โปรดอย่าลังเลที่จะปรึกษากับเรา